Last updated: 6 Sep 2024 | 307 Views |
วิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis) คืออะไร?
วิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis) ไม่ได้หมายถึงปัญหาทั่วไป แต่คือปัญหาที่ใหญ่กว่าและเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน จัดเป็นปัญหาระดับมหภาคที่สามารถส่งผลกระทบแบบทับซ้อนมาถึงองค์กรของเราได้อ้างอิงข้อมูลจาก The Cascade Institute ทีได้กล่าวว่า เมื่อวิกฤตการณ์ในระดับโลกส่งผลกับการทำงานขององค์กรทั่วไปแล้ว เราจึงต้องพยายามเข้าใจบริบททุกอย่างที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด รวมถึงรู้สาเหตุต้นตอ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหา รวมถึงศึกษาว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบในประเทศอื่น ๆ มีวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านั้นแบบไหนบ้าง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรของเราอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะยิ่งองค์กรเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถรับมือกับปัญหาหรือความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นเท่านั้น
ทีม Plusitives จึงอยากเชิญชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับวิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis) ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงให้เป็นหนึ่งในผู้นำแบบ Effective Leaders ในยุคผันผวนไม่แน่นอนแบบนี้ ไปร่วมค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลยในบทความวันนี้ค่ะ
เพราะเหตุใดเราจึงต้องให้ความสำคัญกับ วิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis)?
สิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมต่าง ๆ ของโลกอาจส่งผลไม่มากก็น้อยกับองค์กรโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เช่น ประเทศไทยมีอากาศร้อนขึ้นจากภาวะโลกร้อน ทำให้การมาทำงานท่ามกลางอากาศร้อนทุกวันก็อาจส่งผลถึงความเครียดจนไม่มีอารมณ์ทำงานอย่างเต็มที่ หรือภาวะสงครามที่ทำให้ค่าเงินเปลี่ยนแปลง เกิดอัตราเงินเฟ้อในมุมใดมุมหนึ่งของโลกจนส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ ข้าวของแพงขึ้น ปัญหาเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการอาจทำให้องค์กรเสียพนักงานที่มีหรืออาจไม่สามารถดึงดูดคนที่มีฝีมือมาทำงานในองค์กรเพิ่มเติมได้
ดังนั้นเราเข้าใจเรื่อง Polycrisis จะทำให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร รวมไปถึงองค์กรมีจุดอ่อนอย่างไรบ้างเพื่อหาทางป้องกัน แก้ไข และนำไปเป็นแนวทางในการยกระดับองค์กรให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาบุคลากรให้มีทัศนคติแบบเติบโต (Growth Mindset) การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที (Resilience) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication) การเปิดรับความแตกต่าง (Diversity) ตลอดจนความเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง (Empathy) และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาผู้นำในยุค Polycrisis ค่ะ
Skills สำคัญของผู้นำในยุค Polycrisis
1. การคิดแบบองค์รวม (Holistic Thinking)
การคิดแบบองค์รวมจะช่วยให้ผู้นำสามารถตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตการณ์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบหลากหลายด้าน ซึ่งเป็นธรรมชาติของสมองของเรา ที่จะมีความสามารถทางความคิดที่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้านแบ่งอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย ได้แก่
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) การคิดตามลำดับ (Sequential thinking) การคิดระหว่างบุคคล (Interpersonal thinking) และการคิดแบบองค์รวม (Holistic thinking) ซึ่งเรา
จะต้องบูรณาการทั้ง 4 ด้านเข้าด้วยกันทั้งใช้ทั้งตรรกะ การวิเคราะห์ อารมณ์ สัญชาตญาณ และจินตนาการ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดที่รอบรู้และครอบคลุม และส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางปัญญาของตนอย่างเต็มที่ รวมถึงพิจารณามุมมองที่หลากหลาย ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การปรับตัวและความยืดหยุ่น (Adaptability and Resilience)
ผู้นำจะต้องปรับตัวและมีความยืดหยุ่นและเรียนรู้จากความล้มเหลวเพื่อพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
3. นวัตกรรมที่ยั่งยืน (Sustainable Innovation)
ผู้นำต้องมีการสนับสนุนนวัตกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูในระยะยาว โดยอาจะเริ่มต้นง่าย ๆ จากการปลูกฝังทัศนคติแบบเติบโต (Growth Mindset) และการสร้างสรรค์วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving) เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์
4. การไม่แบ่งแยก (Inclusion)
การแก้ไขปัญหาและป้องกันวิกฤตการที่เกิดขึ้นต้องอาศัยกระบวนการตัดสินใจแบบครอบคลุมที่อาศัยการพิจารณามุมมองที่หลากหลาย จนทำให้มั่นใจได้ว่าจะตอบสนองความต้องการของทุกคน ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและความเสมอภาค รวมไปถึงการลดอคติที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกออกไป ตามหลักการทำงานของสมองแล้ว สมองมักอาศัยทางลัด (Shortcut) จากเรียนรู้บริบทรอบข้างเพื่อตั้งสมมติฐานอย่างรวดเร็วว่าควรไว้วางใจใคร ประพฤติตนอย่างไร และจะพูดอะไร แต่ทางลัดบางครั้งอาจทำให้เราหลงทางหรือเกิดอคติได้ง่าย ดังนั้นการเข้าธรรมชาติของสมองจะทำให้เราสามารถลดอคติและลดการแบ่งแยกซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ผู้นำควรให้ความสำคัญ
5. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ ผู้นำจะต้องสื่อสารอย่างชัดเจน ยอมรับความท้าทายอย่างเปิดเผย สรุปแผนปฏิบัติการได้ และเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นผู้นำที่สามารถไว้วางใจ (Trusted Adviser) ในทีมได้
6. ความเป็นผู้นำด้านจริยธรรม (Ethical Leadership)
ในช่วงวิกฤต ความเป็นผู้นำด้านจริยธรรมจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้นำควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและโลกมากกว่าผลประโยชน์ในระยะสั้น การยึดมั่นในคุณค่าและการแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์จะสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความมั่นใจ
4 เทคนิคการปรับตัวต่อภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis)
1. เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็ว (Be resilient)
ข้อมูลจาก The World Economic เกี่ยวกับรายงานความเสี่ยงทั่วโลกปี 2023 ชี้ให้เห็นว่าวิกฤตการณ์ที่โลกกำลังเผชิญอยู่นั้นจะไม่หายไปในเร็ววัน ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการรับมือด้วยการฝึกฝนความสามารถในการฟื้นตัวจึงถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมากในการรับมือการสถานการณ์ที่ผันผวนเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันค่ะ
2. เพิ่มความว่องไวและความปราดเปรียว (Be agile)
เปิดรับความเปลี่ยนแปลงมากกว่าฝืนตัวต่อต้านที่สำคัญคือต้องทำอย่างทันที ยิ่งว่องไวเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะกลายเป็นผู้นำและองค์กรที่สามารถตามเทรนด์ได้ทันและสามารถยกระดับสู่สากลได้อย่างแท้จริง
3. สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมนวัตกรรม (Build an innovation ecosystem)
เรียนรู้ที่จะสร้างระบบนวัตกรรม ซึ่งนิเวศนวัตกรรมที่ดีจะสร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้นให้เป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมได้
4. จงให้ความสำคัญกับคนก่อนเสมอ (Adopt a human-centric approach to economic development)
มนุษย์มีจำเป็นต่อการสร้างความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ ดังนั้นการพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีทักษะการทำงานที่สอดคล้องกับยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ รวมทั้งสถานการณ์ที่มีวิกฤตการณ์ห้อมล้อมมากมาย การเสริมทักษะเกี่ยวกับ mindset, soft skills (ทักษะชีวิต) และ leadership (ความเป็นผู้นำ) เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานขับเคลื่อนองค์กรเดินไปข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียงกันจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญค่ะ
เมื่อให้ความสำคัญกับคนเป็นศูนย์กลางแล้ว วิธีการปรับตัวต่อภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis) แบบง่ายๆ อาจเริ่มจากการสร้างสถานที่ทำงานที่เปิดกว้าง หลากหลาย ครอบคลุม และดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผู้นำในองค์กรควรมีทักษะการสื่อสารอย่างชัดเจน ตรงประเด็น และให้อำนาจแก่สมาชิกในทีมในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน และฝึกการฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) เพื่อยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลาย ยอมรับข้อผิดพลาด เพื่อส่งเสริมการเปิดกว้างและกระตุ้นความคิดสร้างสรรคค่ะ
โดยสรุปแล้ว ความเสี่ยงและความท้าทายในโลกธุรกิจในยุควิกฤตซ้อนวิกฤต (Polycrisis) เชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งผู้นำจึงต้องบริหารจัดการอย่างรอบคอบและปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อค้นหาสมดุลที่เหมาะสมในการการตัดสินใจทั้งระยะสั้นและระยะยาว ความสำเร็จในอนาคตขององค์กรขึ้นอยู่กับที่ความคล่องตัว การส่งเสริมความร่วมมือ (Collaboration) และความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน (Substainable) ผู้นำธุรกิจจะต้องปลูกฝังทีมที่มีความหลากหลายและครอบคลุม (Diversity, Equity and Inclusion) และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน (Problem Solving Skills) ขณะเดียวกันก็ต้องก้าวนำหน้าเทรนด์และส่งเสริมความร่วมมือที่แข็งแกร่ง ท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริหารในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจจะต้องใช้ประโยชน์จากพลังของเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นในระยะยาว ในขณะที่โลกเผชิญกับวิกฤตการณ์ Polycrisis นี้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้นำที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น (Resilience) ยอมรับสัญชาตญาณ และคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นจากช่วงเวลาพิเศษเหล่านี้ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
https://www.linkedin.com/pulse/leadership-polycrisis-navigating-risk-turbulent-times-dallisson
ที่มาข้อมูล : รายงาน The Global Competitiveness Report 2018, World Economic Forum
https://xaviroca.com/en/leadership-in-the-era-of-policrisis-and-permacrisis/
https://www.weforum.org/agenda/2023/01/polycrisis-global-risks-report-cost-of-living/
11 Jun 2024