Content

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน ความสามารถในการฟื้นตัว (Resilience) เป็นกุญแจสำคัญในการเป็นผู้นำที่ยั่งยืนและบรรลุความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว ผู้นำที่มีความยืดหยุ่น (Resilient Leader) จะมีความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีม และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยการปรับตัวและการปลูกฝังกรอบความคิดการเติบโต (Growth Mindset) มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ สามารถจัดลำดับความสำคัญในการดูแลตนเองและทีม พร้อมรับคำติชม และรักษาทัศนคติเชิงบวก ดังนั้นผู้นำที่มีความยืดหยุ่นจึงสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นของตนเองได้เมื่อเผชิญกับความยากลำบาก โดยไม่เพียงแต่ฟื้นตัวเร็วเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ความพ่ายแพ้หรือความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

การสร้างนวัตกรรมและการปรับปรุงพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมต้องอาศัยความอยากรู้อยากเห็น ความกล้าเสี่ยง และความเต็มใจที่จะล้มเหลวเพื่อลองสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้นในฐานะผู้นำทางธุรกิจที่ต้องการส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร เราควรให้ความสำคัญกับการปลูกฝัง "กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)" ให้เกิดขึ้นในทีมและองค์กร เพราะกรอบความคิดแบบเติบโตนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น และเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมกระบวนการทำงานที่ดีกว่ากรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) กล้าเผชิญกับความท้าทาย มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมองเห็นประโยชน์ระยะยาวของการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อความสำเร็จขององค์กรและการขับเคลื่อนนวัตกรรม

สมองเป็นอวัยวะมหัศจรรย์และทรงพลังที่สุดในร่างกายของเรา เพราะมันสามารถควบคุมทั้งการกระทำ ความคิด และความรู้สึกของเราได้ทั้งหมด และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในการทำงานทุกคน อวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดก็คือสมองของเรานี่เองค่ะ ในตอนนี้องค์กรทั่วโลกจึงต่างตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาคนในองค์กรในแบบที่ "เป็นมิตรกับสมอง" ซึ่งมักเรียกว่า "Neuroleadership" หรือ Brain Friendly Leadership อันเป็นความก้าวหน้าของการศึกษาสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ที่จะสามารถช่วยเชื่อมโยงระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และแนวทางในการเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพ ที่จะทำให้เราสามารถทำเข้าใจความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการทำงานของสมองตามธรรมชาติกับการทำงานในองค์กรในเชิงลึกเพื่อดึงศักยภาพของผู้นำ และคนในทีม เพื่อสร้างTeamwork ดึงจุดแข็งและปิด Gap ลดจุดอ่อน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และส่งเสริมภาวะผู้นำให้ขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายได้อย่างตรงจุดในระยะเวลาอันสั้นนั่นเอง

ในการบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาในโลกยุคปัจจุบันจะไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเราดำเนินการด้วยการมองมุมมองเพียงด้านเดียว เพราะการบรรจบกันของวิกฤตการณ์หลายด้าน (polycrisis) ที่หมายถึงวิกฤตการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสงคราม อัตราเงินเฟ้อสูง โรคระบาด การโจมตีทางไซเบอร์ เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว การลาออกครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมและอื่นๆ อีกมากมายที่ครั้งหนึ่งดูเหมือนจะเกิดได้ยากแต่ในตอนนี้กลับเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างน่ากังวล ดังนั้นสิ่งที่ CEO และผู้นำทางธุรกิจควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ในทันทีก็คือการทำความเข้าใจและการเตรียมตัวรับมือหากต้องเผชิญหน้าวิกฤตซ้อนวิกฤติหรือ Polycrisis

ในยุคที่โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้ จะทำอย่างไรให้องค์กรของเรามีบรรยากาศในการทำงานที่ดีที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้บุคลากรของเรากล้าคิด กล้าแสดงออก และยังช่วยทำให้แต่ละคนมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้นในทีมได้ คำตอบคือการสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้น มีความเข้าใจกันและกันมากขึ้น เพราะไม่ว่าบุคลากรในองค์กรจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่หากพวกเขามีการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ขาดความปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานแล้ว พวกเขาก็จะเกิดความไม่เชื่อใจกัน กลัวความผิดพลาด หรืออาจส่งผลจนลบกลายเป็นทีมที่ไร้ประสิทธิภาพ (dysfunctional team) ได้เลยทีเดียว

ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก (Diversity and inclusion) ได้เปลี่ยนจากอุดมคติที่ควรมีมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จและนวัตกรรมขององค์กรที่ต้องมี เพราะผู้นำในโลกปัจจุบันไม่เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้รับมือกับความท้าทายแต่ยังต้องเปิดรับมุมมองที่หลากหลายและใช้ประโยชน์จากมุมมองเหล่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความยืดหยุ่นอีกด้วย (Resilience) ดังนั้นในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกมากขึ้นกว่าที่เคย รวมถึงปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Leadership) ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้นำที่ให้คุณค่ากับความหลากหลายแล้ว ยังต้องพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนรู้สึกว่ามีคุณค่า ได้รับความเคารพ และมีอำนาจอีกด้วย

เมื่อ Growth Mindset คือ กรอบความคิดที่สำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะช่วยดึงศักยภาพของพนักงานออกมา จนสามารถพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ และ Growth Mindset ยังเป็นกรอบความคิดที่ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ (Innovation) เพื่อให้คนในทีมมีความพร้อมในการเข้าสู่ยุค Digital Transformation

ในโลกของธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่ง ภาวะผู้นําแบบอุดมสติ (Mindful Leadership) จึงไม่ได้เป็นเพียงลักษณะที่พึงปรารถนาแต่ถือเป็นทักษะที่มีความจําเป็นเป็นอย่างยิ่ง การเป็นผู้นำแบบ Mindful Leadership มีประโยชน์มากมายที่สามารถนําไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจที่ไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าส่วนบุคคลและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้นําเอง แต่ยังส่งผลดีต่อวัฒนธรรมการทำงานและความสําเร็จขององค์กรอีกด้วย

เมื่อ Growth Mindset คือ สิ่งที่องค์กรชั้นนำต่างมองหาในตัวพนักงาน แล้วเราต้องทำอย่างไรถึงจะมีSoft Skills แบบนี้ได้ Plusitives ได้รวบรวมคำตอบและเคล็ดลับการฝึกมาให้แล้วในบทความนี้ ไปติดตามกันเลย

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่ากรอบความคิดและทัศนคตินั้นแตกต่างกันอย่างไร เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบพร้อมแถมเทคนิคการ ปรับ Mindset ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพแบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้

การสร้างความไว้วางใจ (Trust) กับคนในทีม คือจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในที่สุด แต่จะต้องเริ่มต้นอย่างไร มีวิธีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ

เพราะอะไรการสื่อสารภายในองค์กรจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร จริงหรือไม่ที่องค์กรชั้นนำมีทีมงานที่ดีก็เพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพแบบนี้ บทความนี้มีคำตอบ

มาทำความเข้าใจกันว่า Psychological Safety นั้นคืออะไร ทำไม Google และ Netflix ถึงนำมาใช้ในการทำงาน แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะสร้างความปลอดภัยทางจิตใจได้ บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะผู้นำ เป็นทักษะสำคัญที่หัวหน้าทีมควรมีเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน เพื่อโน้มน้าวและชักจูงให้คนในทีมให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคที่เกิดขึ้นไปได้ แต่จะต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

การสร้างความไว้วางใจ (Trust) กับคนในทีม คือจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในที่สุด แต่จะต้องเริ่มต้นอย่างไร มีวิธีอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ

เมื่อ Psychological Safety หรือความปลอดภัยทางจิตใจ คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่จะต้องเริ่มต้นอย่างไร Plusitives ได้รวบรวมเทคนิคดีๆ มาให้ในบทความนี้แล้ว ห้ามพลาด!

การให้ feedback อย่างสร้างสรรค์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างผู้นำเชิงบวก (Positive Leadership) รวมถึงการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity) และรวมถึงการจัดการเรื่องผลงาน หรือ Performance Management ของทีมงานอีกด้วย การให้ Feedback อย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นทักษะที่ผู้นำยุคปัจจุบันต้องมี

การที่เราได้หัวเราะออกมาดังๆ นอกจากมันจะช่วยเราในเรื่องการผ่อนคลายความเครียด (Stress Management) เพื่อลดอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานแล้ว การหัวเราะเพื่อสร้างอารมณ์และพลังงานที่ดียังเป็นเกราะป้องกันตัวเราจากอาการ Burn Out ถือเป็นวิตามินที่มาช่วยเสริม และสร้างแรงกระตุ้น (Motivation) ให้กับตัวเองและกับทีมงาน ช่วยให้เรามีความสามารถในการฟื้นตัวหรือ Resilience ได้ดีขึ้นแถมยังเป็นเทคนิคที่ช่วยสร้างพลังเชิงบวก (Positive Energy) และเป็นมิตรกับสมองอีกด้วย (Brain Friendly)

ในการทำงานเราอาจจะเจอกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกท้อแท้ได้ ดังนั้นการดูแลใจตัวเองด้วยการฝึกทักษะ Reselience จึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงนำเทคนิคที่ช่วยฝึกทักษะดังกล่าวมาฝากกัน

ความปลอดภัยทางด้านจิตใจของทีมงาน หรือ Psychological Safety เป็นเรื่องที่ผู้นำทุกคนต้องคำนึงถึง เพื่อให้ตนเองสามารถสร้างทีมงานที่มีความเข็งแกร่ง (High Performing Team) สร้างความร่วมมือ (Collaboration) ความสามัคคี (Unity) และทำให้คนในทีมแต่ละคนกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ฝึกคิดนอกกรอบ (Creativity) และได้ใช้ศักยภาพของตนเองออกมาอย่างเต็มที่

Emotional Intelligence จำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นอย่างมาก และยังส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ ในด้านการปรับตัว หรือAdaptability ด้วย แต่จะช่วยพัฒนาทักษะนี้ได้อย่างไรนั้น คำตอบอยู่ในบทความนี้แล้ว

ปัจจุบัน Leadership Style นั้นมีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นก็คือ Positive Leader หรือ ผู้นำเชิงบวก ซึ่งจะมีลักษณะแบบใดบ้าง แตกต่างจากรูปแบบอื่นอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

การบริหารทีมจะต้องอาศัยทักษะ Leadership ในการบริหารงาน แต่ต้องบริหารอย่างไรถึงจะได้ใจลูกน้อง บทความนี้รวบรวมเทคนิคมาให้ทุกคนแล้ว และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างแน่นอน

เพราะอะไร Empathic Communication มีความสำคัญในการทำงานเป็นอย่างมาก บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับทักษะนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งบอกวิธีฝึกทักษะนี้ที่ทำตามกันได้ง่ายๆ

ในปัจจุบันสิ่งที่จะช่วยให้เราสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพได้ก็คือ Teamwork & Collaboration ซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ให้เติบโตไปสู่ความสำเร็จได้ แต่จะสร้างได้อย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมๆกันในบทความนี้

เพราะอะไรองค์กรหลายแห่งจึงให้ความสำคัญ และต้องการให้บุคลากรมีความสามารถในการฟื้นตัวหรือ Resilience คำตอบคงหนีไม่พ้นการเตรียมให้ทุกคนพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามามากมายในศตวรรษที่ 21

เมื่อองค์กรหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มี Growth Mindset หรือกรอบความคิดแบบเติบโตแต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่ากรอบความคิดแบบนี้คืออะไร สำคัญกับการทำงานอย่างไร ช่วยพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้จริงหรือ บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยของคุณเอง

เราจึงอยากมานำเสนอเรื่องของจิตวิทยาเชิงบวกให้เข้าใจและมีรายละเอียดมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการตอบคำถามยอดฮิตที่ได้รับมาอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็ยังเป็นการอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า จิตวิทยาเชิงบวกคืออะไร มีความสำคัญและจะช่วยเราได้อย่างไร

VIA Character Strengths คือคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางในการเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เรามีความสุขควบคู่ไปกับความสำเร็จ

ในช่วงเวลาที่ท้าทายแบบนี้ เราทุกคนไม่ว่าจะทำงานสายไหน หรือมีอาชีพ ทำงานในตำแหน่งอะไร หันไปทางไหนก็คงหนีไม่พ้นกับคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” คำว่าความเปลี่ยนแปลงดูเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราเกือบทุกคนจะต้องเผชิญและปรับตัวให้ได้ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะมาท่าไหน เราก็ต้องยืดหยุ่นและรับมือกับมันให้ดีที่สุด (Adapt To Change)

ทักษะความเป็นผู้นำเป็นตัวแปลที่สำคัญอย่างยิ่งในการจะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จ ผู้นำที่ดีไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้ในเรื่องของการทำงานเท่านั้น แต่ยังต้องมี Soft Skill ที่สำคัญ ในการนำเอาทักษะเหล่านั้นมาใช้สร้างความสามัคคีในทีมงานของตนเอง และนั่นคือทักษะที่ใช้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับพนักงานหรือสมาชิกในทีม

คำว่า Teamwork บางครั้งไม่ได้จำกัดความหมายเพียงแค่คนในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมไปถึงคำจำกัดความถึงความเป็น Partnership ระหว่างเรากับ Stakeholder คนอื่นๆที่อยู่ในโปรเจค อาจหมายรวมถึง Supplier, ลูกค้า, Project Sponsor และอื่นๆ

ในช่วงเวลาที่หลายคนเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน การที่เรายอมรับความคิดและอารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจำเป็นมากๆค่ะ

“ความเครียด” เป็นความรู้สึกที่หลายๆ คนก็คงรู้สึกไม่อยากเข้าใกล้ และมักนึกถึงผลกระทบในแง่ลบว่า ความเครียดนำภัยร้ายมาให้กับเรา

แนวคิดของการเสริมแรงเชิงบวกหรือ Positive Reinforcement มีกันมานานแล้วและถูกพูดถึงกันอยู่อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาหลายสิบปี และสิ่งที่ยังทำให้แนวคิดแบบ Positive Reinforcement หรือการเสริมแรงเชิงบวก ยังสำคัญอยู่ก็เพราะ

New Normal หรือความปกติในรูปแบบใหม่ ส่งผลกับเราหลายๆคนในแง่ของการทำงาน และถ้าหากเราเป็นผู้นำที่ต้องดูแลทีมงาน มีลูกน้องที่เราต้องรับผิดชอบอยู่หลายคน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารอบนี้ลำบากและใช้พละกำลังของความเป็นผู้นำมากกว่าที่เคยเป็นมา การปรับตัวสำหรับหัวหน้าที่นำมาแนะนำกันนี้ อาจจะช่วยให้ผู้นำอย่างเราสามารถเป็นหัวหน้าที่สร้างพลังเชิงบวกและได้ใจลูกน้องในยามท้าทายค่ะ

นาทีนี้คงมีหลายคนที่เคยได้ยินคำว่า “Resilience” หรือ ความสามารถที่จะฟื้นตัวเมื่อเจอเหตุการณ์ที่ยากลำบาก เพราะวิกฤตโควิดซัดเราแทบทุกคนแบบไม่ได้ตั้งตัว หลายคนได้รับผลกระทบทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว วันนี้เลยอยากจะขอมานำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับ ความสามารถนี้ให้พวกเราได้เข้าใจเพิ่มขึ้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้